當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 聲音多變之人不可結交?

聲音多變之人不可結交?

推薦人: 來源: 閱讀: 2.27W 次

在泰國的時候,聽到過這樣一種說法,聲音多變的人因有“兩面派”、“變色龍”之嫌而不可與之結交,是不是感覺自己要被孤立了,稍安勿躁,先來看看這篇文章壓壓驚~


เชื่อว่าหลายคนเวลาพูดคุยกับคนที่แตกต่างกัน จะต้องมีลักษณะเสียงที่บ่งบอกความเป็นตัวตนต่างกันออกไป อย่างการคุยกับหัวหน้าหรือคนที่อายุมากกว่า คงใช้โทนเสียงที่มีความอ่อนน้อม หรือการพูดพรีเซนต์หน้าห้องต้องใช้โทนเสียงที่ดูจริงจังเป็นกิจจะลักษณะให้มากกว่าเดิม หรือการพูดกับเด็กเล็กๆ เราต้องดัดเสียงให้ดูเหมือนเราตัวเล็กเกือบเท่าเด็ก จะสังเกตได้ว่า เวลาเราพูดกับเด็กและสัตว์จะใช้โทนเสียงไปในลักษณะเดียวกัน แม้แต่เราคุยกับแฟนจะมีโทนเสียงอ้อน ปนน่าเอ็นดูเข้าไปด้วยเสมอ มันแตกต่างกับเสียงเวลาที่คุยกับเพื่อนอย่างสิ้นเชิง ซึ่งลักษณะนี้เรียกว่าเป็นกันแทบทุกคนเลยก็ว่าได้
相信我們很多人在與不同的談話對象交談時,都會運用不同的聲音特徵來展現不同的自我形象。比如與領導或長輩交談時通常輕聲細語,上臺演講的聲音要正經嚴肅,面對小朋友、小動物時,會不自覺地把聲音變得稚嫩,更別提和戀人甜言蜜語時發嗲可愛的語氣了,跟我們和朋友聊天的聲音簡直是天差地別。這些都可以說是人之常情。

ผู้เชี่ยวชาญ Emily Bray ปริญญาเอกด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Pennsylvania ได้ศึกษาพฤติกรรมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพูดต่อสุนัข Dog-directed speech (DDS) ไว้ว่า การที่เราใช้โทนเสียงที่มีความสูงแหลม จะทำให้สุนัขเกิดความเข้าใจว่า สิ่งนี้แสดงถึงความเป็นมิตรเป็นกันเอง และเสียงในโทนนี้จะทำให้เขาเกิดความสนใจ รู้สึกตื่นเต้น และจะสื่อสารตอบกลับโดยทำเสียงหงิงๆ ใส่ เหมือนเป็นการตอบโต้คำพูดของเรานั่นเอง ซึ่ง McConnell ผู้เชี่ยวชาญอีกคนได้บอกว่า เราไม่ควรใช้โทนเสียงเดิมตลอดเวลา หากเราต้องการสื่อสารในรูปแบบต่างกัน เช่น อยากให้สุนัขเชื่อฟังคำสั่งบางอย่าง โทนเสียงจะต้องลดต่ำลง นั่นจะช่วยให้เขามีอารมณ์สงบและเชื่อฟังคำนั้นมากขึ้น ดังนั้นการเลือกโทนเสียงที่เหมาะ จะช่วยให้เราสื่อสารกับสัตว์เลี้ยงได้ดียิ่งขึ้น
賓夕法尼亞大學心理學博士學位的專家艾米麗·佈雷通過研究“狗狗引導性對話”,對狗狗的行爲表現進行了解讀‪:當我們用高音調和狗狗說話時,會讓狗狗覺得親切友善,從而引發它們的好奇和興奮,併發出“嚶嚶嚶”的聲音迴應我們。另一位專家麥康奈爾也表示,如需進行不同形式的溝通,就不應始終保持一成不變的語調。比如,當我們希望狗狗聽從某些指令時,就要降低音調,從而使狗狗更加的鎮定和順從。由此可見,選擇適當的語調,能幫助我們更好地與寵物進行交流。

聲音多變之人不可結交?


สอดคล้องกับ Courtney Glashow นักจิตวิทยาเจ้าของสถาบัน Anchor Therapy สหรัฐอเมริกา บอกไว้ว่าการที่เราพูดเสียงเล็กเสียงน้อย (Baby Talk, Baby Voice) เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณในตัวเราทุกคน เมื่อต้องการพูดกับเด็กเล็ก เราทุกคนจะใช้โทนเสียงที่แหลม พูดซ้ำคำเดิมๆ วนไปวนมา และมีชุดคำอยู่ไม่กี่ชุด ส่วนมากจะใช้ท่าทางประกอบคำพูดไปด้วย ซึ่งลักษณะแบบนี้จะทำให้เด็กรับรู้ได้ว่า เรากำลังให้ความรักความเข้าใจ และมีความเป็นมิตรมากขึ้นด้วย
這種理論與同是心理學家的美國錨定療法機構所有者考特尼·格拉肖的觀點不謀而合。他認爲用娃娃音說話是每個人的本能,當我們和小孩子講話時,會使用高音調來來回回地重複幾個相同的詞組,通常還會帶上肢體動作,這樣的表達方式更能讓他們感知到我們給予的關愛、理解和友善。

ในขณะเดียวกันการที่เราใช้เสียงโทนสูงก็ยังใช้พูดกับหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชาอีกด้วย เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความอ่อนน้อม และเป็นสัญญาณสื่อสารถึงความเป็นมิตร เช่นเดียวกับที่เด็กรู้สึก แต่ในโทนเสียงนั้นอาจจะไม่แหลมและสูงเท่าที่คุยกับเด็ก แต่การพูดจะมีความจริงจังมากขึ้น แต่ถ้าเรารู้สึกว่า กำลังพูดคุยกับคนที่มีอำนาจเท่ากัน หรือรู้สึกว่าตัวเองก็มีพาวเวอร์มากพอ จะใช้โทนเสียงปกติในการพูดคุย หรือจะกดโทนเสียงให้ดูต่ำลงเล็กน้อย เพื่อเป็นการแสดงออกถึงบทบาทในสังคม
同樣的,使用高音調和領導上司交談,也起到相同的作用,傳達出謙恭友好的信號,這與我們對小孩子講話的效果相似,只不過聲調中少了幾分尖細,多了幾分沉穩罷了。相反的,如果我們與和自己權力相當、地位平等的對象交談時,就會使用正常的聲音,或者稍微壓低一點,以表明自己的社會角色。

聲音多變之人不可結交? 第2張


การใช้เสียงยังสอดคล้องไปถึงเรื่องเพศอีกด้วย พบในกลุ่ม LGBT จะมีการใช้เสียงที่เน้นทอดเสียงในช่วงท้ายคำพูดให้ดูมีความขี้เล่น เพื่อแสดงถึงการหยอกล้อกันคุยเล่นให้เกิดความสนุกสนาน และมีการเน้นเสียงคำให้มีโทนเสียงที่สูงกว่าปกติ รวมไปถึงการดัดเสียงให้สอดคล้องกับคำพูดและท่าทาง หรือการสร้างคำใหม่ขึ้นมาใช้เฉพาะกลุ่มด้วยนะคะ ซึ่งในการวิจัยบอกไว้ว่าในกลุ่มนี้จะมีความพิเศษที่ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ทำให้โทนเสียงมีความสูง หรือต่ำมากกว่าปกติทั่วไป จะเห็นว่าเวลาพวกเขาเล่าเรื่องอะไร จะมีความสนุกสนานปนเฮฮา และเล่าเรื่องได้ถึงพริกถึงขิง สัมผัสได้ถึงอรรถรสอย่างเต็มที่
不同聲音的使用也與性別相互關聯,在LGBT羣體中發現,他們習慣將說話的尾音拖長,顯得俏皮詼諧,還喜歡加重詞語的讀音,提高說話的語調,配合說話的內容和姿勢來改變說話的聲音,甚至創造出屬於這個羣體專用的新詞。分析表明,LGBT的特殊之處在於,它是一個性別融合的羣體,因此跨性別者說話的音調也會比平常人更加地抑揚頓挫,不論什麼事情,從他們的口中說出,都會顯得歡樂搞笑,有滋有味,十分具有感染力。

นอกจากนี้โทนเสียง วิธีการพูดยังบ่งบอกได้ว่า คุณเป็นคนประเภท Extrovert หรือ Introvert ได้ด้วย โดยคนที่เป็น Extrovert จะเป็นคนที่มีลักษณะพูดเสียงดังและพูดจารวดเร็ว ส่วนคนที่มีลักษณะ Introvert จะมีลักษณะพูดช้า และค่อนข้างจะพูดไปในเสียงที่เบา บางครั้งเราก็แทบไม่ได้ยินเลยทีเดียวค่ะ
除此之外,通過說話的音量和語速還能看出你的性格是外向還是內向。外向的人說話聲音洪亮、語速快,而內向的人語速和緩,聲音輕柔,有時甚至小得聽不到。

สรุปแล้วโทนเสียงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทที่เราอยากให้เป็น เช่นวันไหนอยากเป็นคนที่ให้ความรู้สึกสนุกสนานร่าเริง จะใช้โทนเสียงที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ หรือวันไหนอยากเป็นคนง่ายๆ สบายๆ ก็ใช้โทนเสียงระดับกลางปกติที่เป็นตัวเอง แต่วันไหนต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง ให้ใช้โทนเสียงที่ต่ำกว่าเดิม จะช่วยให้เราดูน่าเชื่อถือมาก
總而言之,我們可以根據語境需要而改變自己的聲音,想要表現出活潑開朗的一面,就用高於平常的音調;想要給人隨和的感覺,就用正常的中等語調;想要增加自己的可信度,就用低沉一點的聲音,會讓人覺得我們很值得信賴。


下次再有人質疑你,就用此文來爲自己平反吧!蘿莉音~御姐音~少年音~大叔音~隨時切換就是拽~

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自MSN,圖片來自視覺中國,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。