當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 你一見鍾情過嗎? 科學告訴你你爲什麼會“陷進去”

你一見鍾情過嗎? 科學告訴你你爲什麼會“陷進去”

推薦人: 來源: 閱讀: 7.45K 次

相信大多數人都有過一見鍾情的經歷,從看到Ta的第一眼就無法自拔,深陷其中,雖然很多人都有這樣的經歷,但是如果要詢問原因的話,很多人都難以回答出來,因爲感覺這個東西嘛,本來就是虛無縹緲的。錯!其實一見鍾情背後是有科學道理的哦!到底是什麼,繼續看吧!


“รักแรกพบ” ที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องของพรหมลิขิต บุพเพสันนิวาสที่นำพาให้คนสองคนมาเจอกัน และรู้สึกต้องตาต้องใจกันตั้งแต่แรกพบนั้น อาจจะไม่ได้โรแมนติกอย่างที่หลายคนจินตนาการไว้ เมื่อแท้ที่จริงแล้วสิ่งที่เราเรียกกันว่า “Love at first sight” นั้น มีเหตุผลด้านวิทยาศาสตร์สนับสนุนในเรื่องนี้ด้วย
一見鍾情被很多 人都當作是命中註定的事,命運讓兩個人相見,並在見面的一瞬間愛上對方,但真相是一見鍾情可能沒有很多人認爲的那麼浪漫,其實它是有科學方面的依據的。


“สารเคมีในสมอง”ส่งผลต่อความรัก
大腦中的化學物質對愛 情有影響


การที่คนเราตกหลุมรักใครสักคน และมีความรู้สึกท้องไส้ปั่นป่วนเหมือนผีเสื้อบินอยู่ในท้อง เป็นเพราะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีในสมอง จากการที่สมองหลั่งสาร “โดพามีน” และ “เซราโนนิน” ออกมา จึงเกิดความรู้สึกอบอุ่น และความผูกพันกับอีกฝ่าย
我們之所以會愛上一個人,感覺 肚子裏就像有蝴蝶在飛舞一樣,是因爲在我們的大腦中分泌出了多巴胺和血清素,纔會讓我們感覺到溫暖,感覺到和另一方有緊密的聯繫。

โดยนักประสาทวิทยา ดร. Trisha Stratford อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า โดพามีนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความอิ่มเอมใจและรู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่ใกล้คนที่เรารัก ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวเปรียบเสมือนการให้รางวัลของสมองเวลาที่เกิดความรู้สึกถูกใจสิ่งใด จนทำให้สมองเกิดการเสพติดสิ่งนั้นไปโดยปริยาย
神經學家 Trisha Stratford 博士解釋了這件事,多巴胺是讓我們接近所喜愛的人之後產生滿足和舒心感覺的一種荷爾蒙,這種荷爾蒙就好比是當我們對某種東西滿意之後給大腦的一種獎勵,讓我們 的大腦難以言表地迷戀上它。

ขณะที่เซโรโทนินจะถูกปล่อยออกมาหลังจากได้พบกับใครบางคนที่เราคิดว่าน่าสนใจ น่าดึงดูดใจ ซึ่งในระยะเริ่มแรกของความสัมพันธ์ ฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราอย่างมาก ว่ากันว่าสามารถรบกวนจิตใจได้มากถึงขนาดที่วันทั้งวันเขาคนนั้นจะวนเวียนอยู่ในความคิดของเราได้มากถึง 65 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว!
血清素是我們在遇到了有趣的、吸引我們的人之後被分泌的,在一段關係的初始階段,這種荷爾蒙會給我們的心情造成極大的影響,嚴重到會導致那個人會在65%的時間內都出現在 我們的腦海中。

你一見鍾情過嗎? 科學告訴你你爲什麼會“陷進去”


“รักแรกพบ” เกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาที
“一見鍾情”在相見的7秒內 發生


ความประทับใจจากรักแรกพบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาทีแรกที่เราได้พบกับใครบางคน ซึ่งหมายความว่าระยะเวลาดังกล่าว แทบจะตัดสินใจได้ทันทีว่าเขาคนนั้นมีอะไรที่สามารถดึงดูดใจเราได้หรือไม่ ซึ่งความรู้สึกที่ต่างฝ่ายต่างมีแรงดึงดูดเข้าหากันนั้น ถือว่าเป็นรักแรกพบที่สามารถพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์อันลึกซึ้งได้
一見鍾情留下的深刻印象會在我們遇到某個人的7秒中之內發生,那也就意味着這短短的時間就決定了這個人能在多大程度上吸引我們,雙方都產生了想要接近的吸引力的話,就可能會發展成爲一 段更深層次的關係。

ทั้งนี้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาทีที่เรากำลังพิจารณาว่าเขาคนนั้นดึงดูดใจเราได้หรือไม่ สมองจะหลั่งสาร “อ็อกซิโทซิน” ที่มักถูกเรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” ออกมา ซึ่งหากสมองบอกว่าเรากำลังมีความรัก ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะตกหลุมรักตั้งแต่แรกพบเข้าให้แล้ว
總之,在我們思考這個人到底吸不 吸引我們短短的時間內,大腦會分泌一種叫做催產素的荷爾蒙,它也被叫做“愛情荷爾蒙”,如果大腦告訴我們正在經歷愛情的話,就可能從初次見面就墜入了愛河。


“การสบตา” ส่งผลต่อรักแรกพบ
“視線交匯”會對一 見鍾情造成影響


ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยชิคาโกเคยทำการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการสบตาว่าสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกรักแรกพบได้หรือไม่ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวของดวงตา รวมถึงการหาความแตกต่างด้วยว่าระหว่างความรักกับความใคร่จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างไร
過去,芝加哥大 學曾經做過一個關於視線交匯能不能促成一見鍾情的實驗,這個實驗研究眼球的活動,研究愛情和心儀的感覺會對眼球的活動造成怎樣的影響。

จากการทดลองให้ดูภาพที่เกี่ยวกับความรักโรแมนติก และภาพที่กระตุ้นให้เกิดความอารมณ์หรือความรู้สึกทางเพศ พบว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับใบหน้าของคนที่พวกเขากำลังมีความรักมากกว่า ขณะที่การเคลื่อนสายตาไปโฟกัสที่ร่างกายในภาพอื่น ๆ นั้น ก็สนับสนุนแนวคิดเรื่องรักแรกพบด้วยเช่นกัน
被研究者會被展示浪漫的圖片和讓他們產生性刺激的圖片,研究發現,在被測試者眼球聚焦在其他圖片上的身體的同時,他們更容易將注意力投在他們正在愛的人身上,這也支持了一見鍾情的說法。

你一見鍾情過嗎? 科學告訴你你爲什麼會“陷進去” 第2張


ผลพลอยได้จาก “ภาพลวงตาเชิงบวก”
“積極錯 覺”帶來的影響


ขณะที่การศึกษาของมหาวิทยาลัยโกรนิงเกน เมื่อปี 2017 ระบุว่ารักแรกพบอาจเป็นผลพลอยได้จากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ภาพลวงตาเชิงบวก” (Positive Illusion) เมื่อคนรักสองคนเชื่อว่าตนเองตกหลุมรักกันและกันตั้งแต่แรกพบ ก็ทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับความทรงจำในอดีตที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปในเชิงบวก
格羅寧根大學2017年 的一項調查表明,一見鍾情可能是一種叫做“積極錯覺”現象帶來的結果,當戀愛中的兩個人覺得自己一見鍾情,就會和兩個人過去的記憶產生關聯,這些記憶又都會是積極正面的。

นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวยังพบด้วยว่าคนส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์รักแรกพบมักจะลงเอยด้วยความสัมพันธ์ระยะยาว และการหวนรำลึกถึงความทรงจำเมื่อครั้งที่พบกันครั้งแรกของทั้งคู่ก็สามารถส่งผลในเชิงบวกให้ต่างฝ่ายต่างรู้สึกผูกพันและรักกันมากขึ้นด้วย
除此之外,上述研究還發現大部分一見鍾情的關係都比較長久,回憶一見鍾情的故事會讓戀愛中的兩個人對對方產生更加緊密的聯繫和愛意。


原來愛情真的是又有科學依據但是又毫無道理可言的呢~

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自sanook,圖片來自視覺中國,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。