當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 拯救節後綜合徵,泰語君深深的覺得,最後一條最有用!

拯救節後綜合徵,泰語君深深的覺得,最後一條最有用!

推薦人: 來源: 閱讀: 8.46K 次

“工作emo瞬間——我大抵是不想上班的,但這班是不能不上的,所欲爲何?只見這几案上文件中橫七豎八地寫着兩個大字:沒錢…”所以爲了錢,拒絕emo!辦法如下!

拯救節後綜合徵,泰語君深深的覺得,最後一條最有用!

ช่วงเวลาสิ้นปีจนถึงปีใหม่หลายคนคงได้พักผ่อนและท่องเที่ยวกันเต็มที่แล้ว ได้โอกาสหยุดยาวติดกันหลายวันแบบนี้ใครๆ ก็ชอบใช่มั้ยคะ แต่เมื่อถึงเวลากลับมาทำงาน ทำไมยังรู้สึกอ่อนเพลีย มีอาการเศร้าซึม ไม่มีแรงใจจะไปทำงานเลย นี่เป็นสัญญาณของอาการที่เรียกว่า Post-Vacation Blues หรือ Post-travel depression (PTD) อาการโหยหาความสุขหลังหยุดยาว สาเหตุก็เพราะความเวลาเราไปเที่ยว เราได้กินอาหารอร่อยๆ ได้ทำกิจกรรมที่ชอบ อยู่กับคนที่รัก โดยไม่มีเรื่องงานมารบกวน แต่ยิ่งเรามีความสุขมากเท่าไหร่  ก็มีแนวโน้มเจอกับอาการเหล่านี้มากเท่านั้น เหมือนกราฟชีวิตได้พุ่งไปในจุดสูงสุดแล้วดิ่งลงทันทีเมื่อกลับมาเจอกิจวัตรประจำวันแบบเดิม จึงทำให้หลายคนปรับตัวไม่ทัน ในทางการแพทย์ ได้ให้คำอธิบายอาการนี้ว่าฮอร์โมนแห่งความสุข (เอ็นดอร์ฟิน) ในร่างกายกำลังลดระดับลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกหดหู่ ไม่มีความสุข อย่างไรก็ตามเรามีวิธีรับมือกับภาวะนี้สำหรับ ทำงานหลังวันหยุดยาว มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
年末要過年了,很多人都能好好休息,出去耍了。可以連續休息這麼多天,誰不喜歡!但是爲什麼(休息完)該回去工作了,還是覺得很累?很emo,完全沒有動力上班?被稱爲節後綜合症,旅行綜合症(PTD),一種長時間休息後對幸福的渴望。原因是我們出去玩兒的時候,吃了好吃的,幹喜歡的事,和家人在一起,不受工作煩擾(快樂賽神仙~),但我們越快樂就越可能得節後綜合症。這是快樂到了頂峯,之後的快樂值立即暴跌,很多人無法適應。醫學上總結是因爲幸福的荷爾蒙(即內啡肽)在體內迅速減少。但在emo之前,有方法可以改善這種情況,讓你在長假後迴歸工作!一起來看有什麼吧~

1.ให้เวลาพักผ่อนร่างกาย
花時間放鬆身體

拯救節後綜合徵,泰語君深深的覺得,最後一條最有用! 第2張

ถ้าไม่อยากให้วันแรกของการทำงานหลังหยุดยาวกลายเป็นฝันร้าย  ควรหาเวลาพักอย่างน้อยครึ่งวันหรือหนึ่งวันหลังกลับจากทริปท่องเที่ยว เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ปรับตัวกับตารางชีวิตของมนุษย์เงินเดือน เพราะถ้าคุณเริ่มทำงานทันทีหลังจากจบทริปเลย จะทำให้เหนื่อยล้าจนเกินไป บางคนอาจมีอาการ Jet Lag รวมด้วย  ซึ่งจะมีผลกับสภาพจิตใจและสุขภาพ ถ้าเป็นไปได้ควรวางแผนรวมวันพักกับวันลาหยุดยาวไปเลย จะได้ไม่กระทบกับงานมากนัก  
如果你不想長假後第一天上班變成一場噩夢,至少保證在旅行後有半天或一天的休息時間,來調整身心適應上班作息。如果旅行結束後立即開始工作,會很累。有些人可能還會面臨時差問題,會影響身心健康。如果可能,計劃長假連着休息日,對工作影響就不會太大(就是說長假過後再留個休息日休息)。

2.วางแผนสำหรับการทำงานวันแรก 
計劃好第一個工作日的工作

拯救節後綜合徵,泰語君深深的覺得,最後一條最有用! 第3張

ควรจัดลำดับความสำคัญของงานด้วยการแบ่งประเภทงานออกเป็น 4 แบบ คือ 1.) งานสำคัญและเร่งด่วน 2) งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน 3) งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน 4) งานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ควรเลือกทำงานประเภท 1) ให้สำเร็จก่อน เพราะถ้าไม่เสร็จทันเวลาหรือมีปัญหาเกิดขึ้นอาจเกิดผลกระทบกับคนมากมาย ถ้าเราทำงานไม่เป็นระบบ ปล่อยเวลาไปกับงานที่ไม่จำเป็น จะทำให้เราใช้พลังในการทำงานเยอะกว่าเดิม ก็จะยิ่งท้อและเครียดเข้าไปอีก ทำให้คุณเข้าใกล้ภาวะ Post-Vacation Blues เข้าไปทุกที นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรมีวันพักครึ่งวันถึงหนึ่งวันหลังจากจบทริป ก็เพื่อเตรียมสภาพจิตใจให้พร้อมและเตรียมวางแผนการทำงานให้รอบคอบ  
把工作任務分爲 4 種,區分工作的輕重緩急,即:1) 重要且緊急的任務 ;2) 重要但不緊急的任務; 3) 緊急但不重要的任務; 4) 不重要且不緊急的任務。先完成第一種,因爲如果處理不及時或者出現問題,可能會影響很多人。如果我們不繫統地規劃任務,把時間浪費在無謂的事情,工作就會更費力,無端多出沮喪和壓力,更容易假期綜合症。爲什麼我們要在旅行結束後休息半天,因爲我們要調整好自己的精神狀態,規劃好自己的任務。

3.หากิจกรรมเชื่อมโยงกับวันหยุดยาว
找點兒樂子穿插以等待長假

拯救節後綜合徵,泰語君深深的覺得,最後一條最有用! 第4張

การได้กลับไปทำกิจกรรมเหมือนหรือคล้ายกับตอนไปเที่ยว เป็นหลักจิตวิทยาง่ายๆ ที่ทำให้หายคิดถึงความสุขในช่วงนั้น ช่วยเชื่อมโยงช่วงเวลาดีๆ เข้ากับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างกลมกลืน อาจจะเขียนบล็อกทริปที่ผ่านมา ทานอาหารท้องถิ่นของเมืองนั้นๆ ทำให้รู้สึกว่าบรรยากาศความสุขยังอยู่รอบตัวเรา หรือออกไปสังสรรค์กับเพื่อนบ้าง ออกกำลังกาย หางานอดิเรกใหม่ๆ ทำ ก็จะช่วยให้เราไม่หมกมุ่นอยู่กับความเศร้าจนเกินไป  
再回到工作崗位上時能做一些類似於去旅遊時做的事,是能幫助我們停止想念放假那段時光的快樂的簡單心理學方法,能幫我們把假期的美好很好地融入我們的日常生活。寫一篇關於旅行的博客,吃一吃當地特色食物,讓我們覺得快樂還在身邊!或是和朋友一起出去玩,鍛鍊一下。找點兒新興趣愛好做,讓自己不再沉迷於emo~

4.วางแผนทริปเที่ยวครั้งใหม่
計劃好下一次旅行

拯救節後綜合徵,泰語君深深的覺得,最後一條最有用! 第5張

ถ้าโหยหาความสุขขนาดนี้ แทนที่จะมานั่งเสียดายช่วงเวลาดีๆ ก็เอามาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อวางแผนทริปครั้งหน้าซะเลย ด้วยการกำหนดวันหยุดหรือวันพักผ่อนล่วงหน้า 3-6 เดือน เป็นการกระตุ้นให้เรามีความหวัง รู้สึกตื่นเต้นความสุขครั้งใหม่ที่รออยู่ จนอยากจะนับถอยหลังเร็วๆ เลย อาจจะเป็นทริปสั้นๆ ที่ตรงกับวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ได้ การวางแผนเที่ยวล่วงหน้ายังเป็นการสร้างกำลังใจให้เราตั้งใจทำงานและเก็บเงินอีกด้วย เพราะการไปเที่ยวแต่ละครั้งก็ต้องใช้เงิน ถ้าอยากให้รางวัลตัวเองด้วยการไปเที่ยวบ่อยๆ ก็ต้องขยันทำงานนั่นเอง   ทั้งนี้อาการ Post-Vacation Blues ไม่ใช่โรคจิตเวช เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เราสามารถรับมือได้เพียงนำแนวทางของทั้ง 4 ข้อ ไปปรับใช้ พอร่างกายและอารมณ์ปรับตัวได้ แล้ว อาการเศร้าซึมก็จะหายไปเอง เพราะชีวิตเรายังคงดำเนินต่อไป ทริปหน้าอาจจะสนุก มีความสุขกว่าเดิมด้วยซ้ำ แต่ถ้าผ่านไปประมาณ 2-3 อาทิตย์ ยังคงมีอาการ  Post-Vacation Blues อยู่ ขอแนะนำให้ปรึกษานักจิตวิทยาหรือแพทย์จะดีที่สุดค่ะ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพจากการที่ต้องมาทำงานหลังวันหยุดยาว ที่อาจพัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้าได้
如果你渴望這樣的快樂,而不是傷心遺憾,以此爲靈感,計劃下一次旅行。提前3-6個月計劃假期,給自己點念想。等待的過程也很快樂,想加快倒計時,也週末可以安排一個短途旅行。提前計劃假期可以激勵我們努力工作,省錢。因爲旅行都要花錢,如果想以旅行來獎勵自己,必須努力工作。節後綜合症不是精神疾病,只是短期內出現的症狀。只要抓住四點,把身體和情緒調整好,症狀就會自行消失。生活還在繼續,下次旅行會更有趣,更快樂!但如果 2-3 周後,症狀還在,最好諮詢一下心理學家或心理醫生。否則可能影響工作效率和健康,甚至可能演變成抑鬱症。

偶爾會emo,但積極上進纔是我的主旋律。你覺得哪個方法有用?評論區見!

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自jobsdb,圖片來自Oriana/Vivi,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。