當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 平平無奇的粿條 怎麼成了泰國經濟危機的“救命稻草”?

平平無奇的粿條 怎麼成了泰國經濟危機的“救命稻草”?

推薦人: 來源: 閱讀: 2.4W 次

喜歡泰國路邊攤的小夥伴一定對隨處可見的粿條不陌生,雖然來自中國,但在泰國可算是被髮揚光大了,加上蝦餃、蟹棒、雞腿等等各種配料,一碗豪華粿條可以說是深夜最不錯的宵夜了。但很多人不知道,粿條在泰國的歷史上可是有着很重要的地位的,究竟怎麼回事?今天帶大家一探究竟。

平平無奇的粿條 怎麼成了泰國經濟危機的“救命稻草”?

ทั่วแห่งหนในไทย มองไปไหนก็เห็นร้านขายอาหารได้เสมอ และในละแวกที่มีจำหน่ายอาหาร เมนูที่พบเห็นบ่อยไม่แพ้จานอื่นย่อมเป็น ก๋วยเตี๋ยว อาหารที่เชื่อกันว่ามีในไทยมายาวนาน
在泰國全境,不管看向哪裏都能 看到售賣食物的商店,在每個飯店裏,最能經常看到的菜品就要數粿條了,大家都認爲這種食物在泰國的歷史非常悠久。

คำว่า “ก๋วยเตี๋ยว” นวรัตน์ ภักดีคำ ผู้เขียนหนังสือ “จีนใช้ไทยยืม” อธิบายไว้ว่า เป็นอาหารลือชื่อและเป็นเอกลักษณ์ของจีน โดยเฉพาะคนจีนแต้จิ๋ว
“粿條”這個詞,《中用泰借》一書的作 者Nawarat Phakdeekham解釋到,這是一種有名的食物,是中國人的特色,尤其是中國潮州人。

ครั้นเมื่อเข้าสู่สมัย พ.ศ. 2485 ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะลำบากยากเข็ญอันเกิดจากภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามด้วยอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ จากทั้งสองเหตุการณ์ทำให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง และเศรษฐกิจตกต่ำ (ปัญหาเงินเฟ้อ) นำมาสู่นโยบายสร้างชาติด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจแบบชาตินิยมในช่วงจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีอำนาจ โดยมีคำขวัญว่า “ไทยทำไทยขาย ไทยใช้ไทยกิน”
時間回到1942年,泰國正在面臨第二 次世界大戰的嚴峻考驗,接下來又是歷史上空前未有的大水災,在這兩次事件之後,泰國物價飛漲,經濟低迷(通貨膨脹),出現了鑾披汶政府時期的用民族主義振興經濟的政策,口號是:“泰產泰賣,泰吃泰用。”

จากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบชาตินิยม “ก๋วยเตี๋ยว” เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ถูกนำมาใช้ในนโยบายดังกล่าว จอมพล ป. ส่งเสริมให้คนไทยหันมาขายและบริโภคก๋วยเตี๋ยวมากขึ้น เพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหาเงินเฟ้อและเศรษฐกิจตกต่ำ ดังจะเห็นได้จากปาฐกถาของจอมพล ป. ที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
民族主義振興經濟政策頒佈之 後,粿條成了響應這一政策的一部分,鑾批汶政府回過頭來鼓勵泰國人購買和消費更多的粿條,用來解決通貨膨脹和經濟低迷的問題,可以從鑾披汶政府的演講中看到這個政策:

“อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วถึง เพราะก๋วยเตี๋ยวมีประโยชน์ กับร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อมทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละหนึ่งชามทุกวัน วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่งวันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้นก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกัน ไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ไม่ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยชน์เต็มที่ในค่าของเงิน..”
“想讓全國的兄弟姐妹都吃粿條,因爲粿條對身體有好處,味道酸、鹹、甜,可以自己做,容易找到並且好吃。如果大家每人每天吃一碗粿條,一天就吃掉1800萬碗粿條,最後一天粿條的銷售價就有9000萬士丹,摺合90萬泰銖,是一筆不錯的流動資金,這90萬泰銖的錢會流向農民、漁民,不會落到某一個人的手中,1泰銖就有1泰銖的價值,可以買到粿條,不會像現在這樣什麼都買不到,就好像 錢沒有價值一樣…”

เดิมทีการขาย “ก๋วยเตี๋ยว” เป็นอีกหนึ่งอาชีพยุคแรกเริ่มของคนจีนที่เข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ในไทย เริ่มด้วยรูปแบบหาบเร่ขายซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนไทยรู้จักก๋วยเตี๋ยว ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัยอธิบายลักษณะของหาบเร่ขายก๋วยเตี๋ยวของคนจีนในสมัยนั้นว่า หาบเร่ขายก๋วยเตี๋ยวของคนจีนนั้นหนักมาก เหตุเพราะมีเครื่องประกอบและเครื่องปรุงทุกสิ่งอย่างไว้เสร็จสรรพ และด้วยรสชาติที่โดดเด่นทำให้คนไทยนิยมกินก๋วยเตี๋ยวถึงขั้นเป็นเจ้าประจำที่ต้องนั่งรอเวลาหาบก๋วยเตี๋ยวผ่านมาขาย
剛開始,售賣粿條是來到泰國生活的中國人的一種職業,他們用扁擔挑着流動售賣,讓泰國人認識了粿條。Sansanee Wirasinchai 解釋了當時中國人流動售賣粿條,說挑着粿條的扁擔非常 重,有所有配料和製作好的調料,因爲味道很好,所以讓泰國人喜歡上吃粿條,併成了固定的客人,等着中國人挑着扁擔來賣。

หนังสือ “กระยานิยาย เรื่องน่ารู้สารพัดรสจากรอบๆ สำรับ” โดย ส.พลายน้อย อธิบายถึงเหตุการณ์ที่รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยขายก๋วยเตี๋ยวว่า จอมพล ป. สั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กรมประชาสงเคราะห์ ให้ร่วมมือกันขยายตลาดก๋วยเตี๋ยวให้แพร่หลายออกไปทั่วประเทศ โดยเกณฑ์ครูใหญ่ทุกโรงเรียนให้ขายก๋วยเตี๋ยวโรงเรียนละ 1 หาบ ข้าหลวงประจำจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอก็ต้องขายคนละ 1 หาบ ให้กรมประชาสงเคราะห์จัดทำคำแนะนำ ทำตำราวิธีขายก๋วยเตี๋ยวออกแจก ซึ่งตั้งแต่นั้นมาคนไทยก็รู้จักขายก๋วยเตี๋ยวและกินก๋วยเตี๋ยวกันอย่างแพร่หลาย
《美食的故事:和美味相關 的趣聞》一書的作者Sor Phlainoi解釋了泰國政府鼓勵民衆賣粿條的事件,鑾披汶下令讓教育部、公共衛生部、公共福利部共同合作將粿條的市場拓展至全國,讓每個學校的校長賣掉一擔粿條,府上和縣上的負責人也需要每人賣出一擔粿條,讓公福利部製作講解和售賣粿條的教程分發,自此之後泰國人對粿條更加熟悉,也更廣泛地食用粿條。

นอกจากการส่งเสริมให้คนไทยหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยวแล้ว กรมโฆษณาก็ยังได้แต่งเพลงก๋วยเตี๋ยวขึ้นเพื่อใช้ในการเชิญชวนให้คนไทยหันมาขายและบริโภคก๋วยเตี๋ยวกันอีกด้วย โดยมีเนื้อร้องท่อนหนึ่งว่า
除了讓泰國人消費 粿條之外,宣傳局還創作了粿條之歌,爲了讓人們更多地售賣和食用粿條,其中一段的歌詞是:

“ก๋วยเตี๋ยวเอ๊ย…ก๋วยเตี๋ยวมาแล้วจ้า…ก๋วยเตี๋ยวมาแล้วจ้า..ก๋วยเตี๋ยวจ้า…ก๋วยเตี๋ยวเอ๊ย…ของไทยใช้พืชผล เกิดในไทยรัฐทั้งสิ้น…ทรัพย์ในดินหาได้ทั่วไป …ช่วยซื้อขายกันให้มั่งมีเพราะไทยเรานี้ช่วยกันตลอดไป…”
“粿條啊, 粿條來了,粿條來了,粿條啊,粿條啊,泰國的東西,泰國的果實,全都來自泰國,遍地可得的財富,一起來買粿條,因爲泰國人世代互幫互助…”

กล่าวได้ว่า จากการที่รัฐบาลสมัยจอมพล ป. สนับสนุนให้คนไทยบริโภคและขายก๋วยเตี๋ยวอย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในวันนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อมาให้ “ก๋วยเตี๋ยว” เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของคนไทยอย่างแพร่หลายในวันนี้
可以說,鑾披汶政府支持讓泰國人消費購買粿條,目的是爲了解決當時的經濟低迷問題,這也是造成了粿條如今是泰國人最愛吃的食物之一的一部分原因。

 

你對泰國買的粿條有什麼印象嗎?

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。