當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 平平無奇的肉奶蛋 泰國政府用“政策”將它們端上餐桌

平平無奇的肉奶蛋 泰國政府用“政策”將它們端上餐桌

推薦人: 來源: 閱讀: 1.98W 次

肉類、奶類和蛋類,這些對我們來說平平無奇的日常食物,誰也不會想到,它們背後其實都是有故事的,能端上泰國人的餐桌都是不容易的,今天我們就來帶大家去了解一下這幾種食物背後的故事,看看泰國政府爲了宣傳它們都做出了哪些努力吧!


“เนื้อ-นม-ไข่” อาหารที่กินกันจนคุ้นเคย ยิ่งปัจจุบันหลายครั้ง หลายคนเลือกการกินอาหารดังกล่าวแทนข้าวที่เป็นอาหารจานหลักในแต่ละมื้อก็มี แต่นั่นไม่ใช่พฤติกรรมการกินในอดีตของไทย แม้อาหารดังกล่าวจะเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาในครัวเรือน แต่ “ปริมาณ” ที่กินกลับไม่มากนัก
“肉-奶-蛋”,大家非常熟悉的食物,尤其是現在,很多人都把它們當作是米飯的代替品了,但這並不是泰國人過去會做的事情,雖然上述的食物在過去是每家人都很熟悉的 ,但是消費的數量卻並不多。

平平無奇的肉奶蛋 泰國政府用“政策”將它們端上餐桌

(圖源:視覺中國)

รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงมีการส่งเสริมสนับสนุนให้กินเนื้อ นม และไข่ เพิ่มขึ้น ด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงประโยชน์ของอาหารดังกล่าว ผ่านกองอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขณะนั้นทำงานเผยแพร่ โฆษณา ความรู้เรื่องการบริโภคตามหลักวิทยาศาสตร์แก่ประชาชนชน
鑾披汶政府就曾支持促進讓泰國人更多地食用肉、奶和蛋,並通過公共衛生部食品和藥品局來突出宣傳這些食物的營養價值,這個政府部門當時就是承擔着秉承科學的 原則向民衆宣傳關於膳食營養知識的。

นายแพทย์ยงค์ ชุติมา หัวหน้ากองอาหารและยา ในเวลานั้น จึงได้เขียนบทบรรยายเกี่ยวกับอาหารชนิดต่างๆ และการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะเผยแพร่เป็นจำนวนมาก เผยแพร่ผ่านช่องทางหลักอย่าง “วิทยุกระจายเสียง” ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
當時的食品 和藥品局局長Yong Chutima就寫了很多關於食品和正確食用這些食品的文章,主要通過廣播來進行宣傳。大致如下:


เนื้อ 

平平無奇的肉奶蛋 泰國政府用“政策”將它們端上餐桌 第2張


นพ. ยงค์ บรรยายทางวิทยุกระจายเสียงเรื่อง “การบริโภคเนื้อสัตว์” ว่า เนื้อสัตว์ไม่ได้จำกัดเพียงเนื้อหมู และเนื้อวัว แต่ยังหมายถึงเนื้อของสัตว์บกและสัตว์น้ำอื่น เช่น เป็ด, ไก่, ควาย, นก, หนู, ปู ,หอย,เต่า, กบ, กุ้ง, ปลา ฯลฯ และคนไทยรู้จักบริโภคเนื้อสัตว์โดยทั่วไป
Yong醫生通過廣播進行了題爲“食用肉類”的闡述,提到肉類並不僅限於豬肉和牛肉,還包括其他種類的陸生動物和水生動物的肉,例如鴨、雞、水牛、鳥、老鼠、螃蟹、 貝類、烏龜、青蛙、蝦、魚等等,泰國的普通民衆都懂得食用肉類。

แต่ปริมาณที่บริโภคเนื้อสัตว์ของคนไทยยังไม่เพียง นพ.ยงค์ กล่าวว่า “ปัญหาอยู่มีอยู่ว่าทำไมเราจึงกินเนื้อสัตว์น้อยเกินไป ทั้งนี้เพราะขนบธรรมเนียมประเพณีสืบเนื่องมาแต่โบราณว่า เนื้อสัตว์ต่างๆ นั้นไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นแก่ร่างกาย ซ้ำยังเป็นพิษ หรือเป็นของแสลงอีกด้วย” [เน้นโดยผู้เขียน]
但是泰國人消費的 動物肉類的數量還不夠,Yong醫生強調:“問題是爲什麼我們吃的動物肉這麼少?因爲從古至今延續下來的想法認爲各種動物的肉不是我們身體必須的,而且還可能對身體有害,甚至是不健康的東西。”

โดยอธิบายถึงคุณค่าของอาหารประเภทเนื้อสัตว์ว่า ทำให้จิตใจสมบูรณ์แจ่มใสสดชื่นอยู่เสมอ, ช่วยซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดสึกหรอของร่างกายให้คืนสู่ภาวะปกติ, มีไวตามินบี 2 ซึ่งมีประโยชน์บำรุงอนามัยและป้องกันมิให้แก่เร็ว, มีเกลือที่เป็นประโยชน์ซึ่งจำเป็นในการสร้างโลหิต เป็นต้น
還解釋了動物肉類 具有的營養價值,可以讓人們保持心情舒暢,幫助修復身體受損的部位,讓其恢復正常,富含維生素B2,可以幫助身體保持健康,不過早衰老,還有身體造血必須要的鹽分等等。


นม  

ในเวลานั้นคนไทยบริโภคเป็น “ของกินเล่น” เช่น จะกินนมเมื่อนำมาผสมในกาแฟ หรือไม่ถูกต้อง เช่น การละลายนมข้นหวานให้ทารกบริโภค
當時泰國人把牛奶當作是“零食”,例如會在喝咖啡的時候摻一點,或者是不正確地食用,比如稀釋煉乳給嬰兒食用等等。

นายแพทย์ยงค์กล่าวว่า “นมข้นหวานซึ่งต่างประเทสส่งเข้ามาจําหน่ายและโฆษณาให้ใช้เลี้ยงทารก ข้าพเจ้าขอแถลง ว่าในต่างประเทส เช่น สหรัฐอเมริกาเป็นต้น แทบจะไม่มีนมชนิดนี้จําหน่ายเลย เขาทํา ขึ้นเพื่อส่งมาจําหน่ายให้เราชาวเอเชียเท่านั้น แต่เขาเองกินน้ำนมสด และเลี้ยงเด็กด้วย น้ำนมสด
Yong醫生講到:“關於外國人出口過來銷售和讓餵養嬰兒的煉乳,我想說的是,在外國,比如美國等等,基本沒有這種奶在銷售,他們製作出來只是爲了出口到亞洲而 已,但他們自己只喝新鮮的牛奶,也用鮮奶水來餵養嬰兒。

ข้าพเจ้าเคยถามแม่บ้านผู้หนึ่งในสหรัฐอเมริกา ว่าทําไมจึงไม่นำนมข้นหวาน มาผสมกาแฟกิน แม่บ้านหัวเราะและตอบว่า เมื่อของดีๆ สดๆ มีอยู่แล้วจะไปกินของค้างทําไมกัน
我曾經問過美國 一位家庭主婦,爲什麼不ิ把煉乳混合在咖啡裏喝,她大笑然後回答說有好好的新鮮的東西在,爲什麼要吃放了很久的東西呢?

平平無奇的肉奶蛋 泰國政府用“政策”將它們端上餐桌 第3張


ทั้งนี้ข้าพเจ้ามิได้เป็นชวนให้รังเกียจนมข้นหวานประการใด เพียงแต่ขอให้ท่านเข้าใจสถานะอันแท้จิงของนมข้นหวานว่าเป็นนมผสมน้ำตาลเท่านั้น ฉนั้นหากไม่จําเป็นแล้วก็ควรจะใช้นมสดจากสัตว์ที่รีดไหม่ๆ จะดีกว่ามาก
在這裏我並 不是要讓大家去討厭煉乳,而是希望大家瞭解煉乳僅僅是牛奶加了糖而已,如果不是必要的話,就去食用動物擠出來的新鮮的奶會好很多。

นมข้นหวานที่นิยมกันในประเทสไทยมากก็เนื่องมาจากเก็บไว้ได้นาน และขนส่งสดวก ฉนั้นน้ำนม ชนิดนี้จึงควรจะเหมาะสําหรับใช้เดินทางมากกว่าอื่น การที่นมนี้แพร่หลายนั้นเป็นผลอันเนื่องมาจากการโฆษณามากกว่าคุณภาพที่แท้จริง…หากจะจำเป็นต้องใช้นมข้นหวานจริงๆ แล้วก็ขอแนะนำให้ใช้เป็นเครื่องชูรส สำหรับผสมกาแฟน้ำชา…” [เน้นโดยผู้เขียน]
煉乳在泰國非常受歡迎的原因是可以長時間儲存,運輸也非常方便,所以這種奶應該在旅途中食用會更合適,煉乳受歡迎的真正原因更多的是來自宣傳而不是質 量。如果真的要使用煉乳的話,建議使用作咖啡和茶的調味料。”

ส่วนนมที่ควรบริโภค ได้แก่ นมแม่ (สำหรับทารก), นมแพะ, นมวัว, นมควาย และนมถั่วเหลือง สำหรับทารกนอกจากนมแม่แล้ว นมแพะยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งรองลง เพราะย่อยง่ายกว่านมวัว และแพะเป็นสัตว์ที่ปราศจากวัณโรค ซึ่งนมสดจากสัตว์ทั้งหมดต้องต้มให้เดือดก่อนบริโภค
應該食用的 奶包括母乳(嬰兒)、山羊奶、牛奶、水牛奶、黃豆奶等等,對於嬰兒來說除了母乳之外,羊奶的效用次之,因爲比牛奶更好消化,而且山羊也是無結核病的動物。所有的動物奶在食用之前都需要煮沸。

บทบรรยายของนายแพทย์ยงค์ยังว่า “เทศบาลทุกแห่งน่าจะพิจารนาในเรื่องรีดนมสัตว์จำหน่ายให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน จนไม่ต้องพึ่งนมจากต่างประเทศ ถ้าทำเช่นนี้ได้แล้วชาติไทยเราจะมีอนามัยและส่วนสัดดีกว่าบัดนี้มาก…
Yong醫生的演講詞還提到:“相關部門應該考慮擠出足夠的動物奶來滿足民衆的需求,這樣不會再依賴進口國外,如果能做到的話,泰國人的健康和身體會比現 在好很多…

ในการใช้นมสดของสัตว์เป็นอาหารแถมพกให้ทารกนี้ ทางโรงพยาบาลกลาง และนายแพทย์มงคลสมัย แห่งสิริราชพยาบาล ได้ทดลองใช้นมวัวสด ซึ่งรีดในพระนครเพื่อใช้เป็นอาหารทารก ปรากฏว่าได้ผลดีมาก และดีกว่าการใช้นมข้นหวาน หรือแป้งนมของต่างประเทศ…”
在給嬰兒餵養動物的鮮奶上,中央醫院和Sirirat醫院的Mongkonsamai醫生曾經用在曼谷擠出來的鮮牛奶餵養嬰兒做過實驗,發現效果非常好,比用煉乳和進口奶粉餵養嬰兒 的效果都好…”


ไข่ 

平平無奇的肉奶蛋 泰國政府用“政策”將它們端上餐桌 第4張


ปัจจุบันที่เรายังถกเถียงกันว่า “วันหนึ่งกินไข่ได้กี่ฟอง” แต่ในปี 2485 นั้น นายแพทย์ยงค์เสนอว่า “คนไทยทุกคนควรบริโภคไข่ให้ทุกวันได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยเติบโต โปรดอย่าลืมสร้างสมพละร่างกายและสติปัญญาของท่าด้วยการกินไข่ทุกวัน วันละ 1ฟองต่อ 1 คนเพื่ออนามัย”
直到現在我們都 在爭論“一天能吃幾個雞蛋?”但是1942年的時候,Yong醫生建議到:“每個泰國人每天都應該吃雞蛋,尤其是正在長身體的兒童,要每天吃雞蛋爲自己的身體制造能量,增加智力,爲了健康每個人每天吃一顆雞蛋。”

สำหรับเรื่องไข่นี้ นอกจากประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ยังสั่งการให้กระทรวงเกษตราธิการจัดตั้ง “องค์การผลิตและจำหน่ายไข่”
關於蛋,除了向民衆宣 傳常識之外,鑾披汶總理還命令農業部成立了生產銷售蛋類的專門機構。

ชาติชาย มุกสง ค้นคว้าจากเอกสารชั้นต้น และเรียบเรียงเรื่องนี้ไว้ว่า
Chatchai Muksong找到了原始材料,內容列舉如下:

วันที่ 6 ตุลาคม 2485 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ยังสั่งการให้กระทรวงเกษตราธิการจัดตั้ง “องค์การผลิตและจำหน่ายไข่” อีกด้วย โดยให้เหตุผลว่า
1942年10月6日, 鑾披汶總理下令讓農業部設立蛋類生產銷售機構,理由如下:

“ด้วยเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ไข่เป็ดและไข่ไก่เป็นอาหารสําคัญ อย่างหนึ่งของประชาชน หากได้บริโภคกันเสมอและทั่วถึงกันแล้ว ย่อมจะเป็นการช่วยบํารุงอนามัยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่ตามสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไข่เป็ดและไข่ไก่มีจํานวนไม่เพียงพอ แก่การบริโภคและการซื้อหาไม่สดวก ประกอบกับราคายังสูงอยู่ อันเป็นเหตุให้ประชาชนไม่ใคร่ได้บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ฉนั้นจึงเป็นการสมควรที่รัฐบาลจะจัดตั้งองค์การขึ้นทําการผลิต และจําหน่ายไข่เป็ดและไข่ไก่ให้มีปริมานเพิ่มมากขึ้น จนเป็นการเพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน”
“衆所周知,鴨蛋和雞蛋對人民來說是很重要的食物之一,如果能夠經常並且廣泛地食用,一定能夠很好地促進民衆的健康。但根據現在的狀況,市場上的鴨蛋和雞蛋並不足 夠,消費和購買也不方便,價格還非常高,這都是阻礙民衆廣泛消費蛋類的原因,因此,政府應該建立雞蛋和鴨蛋的生產、銷售機構,增加產量,滿足民衆的需求。”

平平無奇的肉奶蛋 泰國政府用“政策”將它們端上餐桌 第5張


วันที่ 10 ตุลาคม 2485 องค์การดังกล่าวก็จัดขึ้นในรูปบริษัทกึ่งราชการทำหน้าที่จำหน่ายไข่เป็ดและไข่ไก่ ส่วนการผลิตมอบหมายให้สถานีทดลองเกษตรกลางบางเขนทำการ ซึ่งนั้นเป็นผลเกิดการส่งเสริมการเลี้ยงไก่, เป็ด เพื่อการบริโภคไข่อย่างกว้างขวาง จนถึงปี 2491 ไข่จึงเป็นสินค้าจำเป็นแก่การครองชีพของประชาชน
1942年10月10日,上述機構就建成了銷售鴨蛋和雞蛋的半公有制公司,但的生產交由Bang Khen農業試驗站負責,這個舉措廣泛地促進了雞鴨養殖業蛋類產業的發展,到1948年,蛋類已經成了泰國民衆生活的必需品。


原來平平無奇的肉蛋奶,背後還有這麼多故事!

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。