當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 他泰作爲美食天堂 在外國人眼中究竟是什麼樣的呢?

他泰作爲美食天堂 在外國人眼中究竟是什麼樣的呢?

推薦人: 來源: 閱讀: 7.81K 次

說到美食,泰國可是一定要擁有姓名的,數不盡的美食絕對能讓你大快朵頤!那麼,外國人眼中的泰國美食究竟是什麼樣子的呢?想必大家一定都很好奇吧,一千個人的眼中就會有一千種哈姆雷特,今天我們就帶大家看看外國人眼中的泰國美食吧!

他泰作爲美食天堂 在外國人眼中究竟是什麼樣的呢?

ผู้คนในเมืองไทยกินอะไรกันบ้างในอดีต อาหารจานไหนเป็นเมนูยอดนิยมที่บ้านไหนก็กินกัน หน้าตาอาหารสมัยนั้นเป็นอย่างไร การปรุงอาหารแต่ก่อนใช้วิธีอะไร แล้วถ้าเปลี่ยน “คนกิน” เป็นชาวตะวันตกที่มีวัฒนธรรมอาหารที่แตกต่างไปจากคนไทย
以前的 泰國人都吃什麼?哪種泰國菜是大家都喜歡吃的菜?以前泰國菜長什麼樣子呢?以前的烹飪方法是什麼?如果是飲食習慣不一樣的西方人來品嚐泰國菜會怎麼樣?

ความรู้สึกเมื่อแรกพบอาหารแปลกหน้าที่ไม่คุ้นเคย และความจริงหลังลิ้มลองรสชาติที่ไม่คุ้นลิ้น สร้างความตระหนก หรือประทับใจอย่างไร ไปดูความเห็น, ความรู้สึกต่ออาหารไทย ที่ชาวต่างๆ หลายคน “รีวิว” ไว้ในบันทึกของเขากัน
在嘗 試到一種全新食物的時候,是會感覺到震驚還是留下深刻的印象呢?接下來就讓我們看看外國人對泰國菜都留下了怎樣的評價吧!

เริ่มจาก ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกถึงสำรับกับข้าวของชาวสยามไว้ละเอียดละออพอสรุปไปว่า สำรับอาหารของชาวสยามนั้นไม่ฟุ่มเฟื่อย อาหารหลักคือข้าวกับปลา เพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ แต่ไม่นินมกินปลาสด ส่วนใหญ่นิยมนำไปหมัก หรือตากแห้ง ที่เขาแสดงความเห็นไว้ว่า [1]
先從阿瑜陀耶王朝納萊王時期的法國使者La Loubère來是吧,他詳細地記錄了當時暹羅民衆的飲食,大致可以概括爲:暹羅人的飯菜並不奢侈,主要的食物是 大米和魚,因爲魚類非常豐富,但是一般不吃新鮮的魚,而是將魚進行醃製或者曬乾,La Loubère解釋了自己的觀點:

“ชาวสยามมีความยุ่งยากใจเป็นอันมากต่อการที่จะหมักเค็มให้ดีได้ เพราะว่าเกลือจะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อสัตว์ได้โดยยากในประเทศที่มีอากาศร้อนจัด แต่พวกเขาก็ชอบบริโภคที่หมักเค็มไว้ยังไม่ได้ที่ และปลาแห้งยิ่งกว่าปลาสดๆ แม้ปลาเน่า (ปลาร้า) ก็เป็นที่นิยมชมชอบไม่น้อยไปกว่าไข่ตายโคม, ตั๊กแตน, หนู (พุก), แย้และตัวด้วงตัวแมลงอีกเป็นส่วนใหญ่ ไม่น่าสงสัยเลยว่าธรรมชาติคงจะแต่งให้ชาวสยามหันไปบริโภคแต่อาหารประเภทที่ย่อยง่าย และลางที่สิ่งเหล่านี้อาจมีรสชาติไม่เลวดังที่เราคิดกันก็เป็นได้”
“暹羅人對於魚肉的醃製非常繁瑣講究,因爲鹽在天氣炎熱的國家是很難浸入動物肉類的,但是他們喜歡吃還沒有完全醃製到位的魚肉,比起新鮮的魚他們更喜歡 曬乾的魚,就連臭魚也是比毛雞蛋、螞蚱、板齒鼠、蜥蜴和其他昆蟲受歡迎的,不難理解,大自然的環境讓暹羅人的食物製作很容易,味道也不一定比我們想象的差。”

ลา ลูแบร์ ยังบรรยายถึง “น้ำจิ้มของชาวสยาม” ว่า
La Loubère還描 述到了暹羅的蘸料:

“น้ำจิ้มของพวกเขานั้นทํากันอย่างง่ายๆ ใช้น้ำนิดหน่อยกับเครื่องเทศ, หัวกระเทียม, หัวหอมกับผักลางชนิดที่มีกลิ่นดีเช่น กะเพรา พวกเขาชอบบริโภค น้ำจิ้มเหลวชนิดหนึ่งคล้ายกับมัสตาร์ด ประกอบด้วยกุ้งเคยเน่าเพราะหมักไม่ได้ที่ เรียกว่า กะปิ (capi) ซึ่งก็ไม่มีกลิ่นเหม็นจัดนัก”
“暹羅人的蘸料製作簡單,用一點水混合着調料、蒜、洋蔥和一些氣味醇香的香料,例如羅勒葉,暹羅喜歡吃一種類似芥末的蘸料,裏面有由於醃製不到位而發臭的 蝦,叫做蝦醬,味道不是特別的臭。”

มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อาหารในเมืองไทยมีพัฒนาการไปอย่างไรบ้าง เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์ รวบรวมไว้ในบทความ “เทศมองไทย: กรุงเทพฯ ในสายตาชาวตะวันตก” [2]
接下來到了曼 谷王朝,泰國的美食有了哪些變化發展?Phetrung Thainpiurot在《外國人看泰國:西方人眼中的曼谷》一文中總結到:

ยอร์ช ฟินเลย์สัน [ศัลย์แพทย์ และนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามายังบางกอก พร้อมกับคณะทูตของ จอห์น ครอเฟิร์ด] กล่าวถึงอาหารของชาวบางกอกว่า
Yorch Finlayson(在泰國隨同John Crawfurd使團一起前往泰國的英國外科醫生和自然科學家)提到了曼谷人的食物:

ประกอบไปด้วยข้าวกับบาระช่อง (ศัพท์ภาษาพม่า) หรือน้ำพริกซึ่งเขาเห็นว่าน่าขยะแขยง และชาวสยามยังกินเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์ปีก และสัตว์อื่นๆ โดยเขาได้นําหลักศาสนามากล่าวรวมกับการบริโภคเนื้อสัตว์ของชาวสยาม ว่าตามหลักศาสนาแล้วการฆ่าสัตว์เป็นเรื่องผิด แต่หน้าที่ในการฆ่าสัตว์จะตกอยู่กับผู้ขายในตลาดให้กรรมจากการฆ่าสัตว์ตกอยู่กับผู้อื่น
“由大米和一 種辣椒醬組成,他認爲這種辣醬非常噁心,暹羅人會吃魚肉、動物的翅膀和其他動物,他還用宗教的角度解讀了暹羅人吃肉食的問題,根據宗教的規則,殺生是不正確的,但是殺生的職責和業障落在了市場中殺動物的人,而不是其他人。”

The Singapore Chronicle [หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ โดยชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์เป็นพิมพ์และเผยแพร่ข่าวต่างๆ ของภูมิภาค ดำเนินการอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2367-80] ได้กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของกรุงเทพมหานครไว้ว่า
The Singapore Chronicle (英文報紙,由在新加坡生活英國人出版,出版到各個地區,在1824-1837年發行)提到了曼谷人的美食:

“ข้าวราคาถูกมากอย่างน่ามหัศจรรย์ และปลา สัตว์ปีก และหมูอุดมสมบูรณ์ และสองอย่างสุดท้าย คุณภาพดี ผลไม้หลากหลายมาก อุดมสมบูรณ์ และดีเยี่ยมกว่าประเทศอื่นทางตะวันออก ดังเช่น ลิ้นจี่ ส้ม มะม่วง มังคุด ทุเรียน และสับปะรด…”
“大米的價格 極其低廉,魚肉、動物的翅膀和豬肉也非常豐富,後兩種食物的質量非常好,水果的種類也有很多,非常富饒,比西方國家的都要好,比如荔枝、橘子、芒果、山竹、榴蓮和菠蘿…”

ปัลเลอกัวซ์ [พระสังฆราชชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในไทย เมื่อปี พ.ศ. 2372] กล่าวถึงอาหารไว้ว่ามีข้าวปลา ผักและผลไม้ มีน้ำพริกว่าเป็นเครื่องจิ้มที่ใช้บริโภคกันทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินจนถึงประชาชน และกล่าวถึงภาพรวมของอาหารไว้ว่า
Pallegoix(1829年 在泰國宣傳天主教的一位傳教士)提到說有米飯和魚肉、蔬菜和水果,辣椒醬是所有人都非常喜愛的食物,從國王到普通民衆都會食用。總結了食物的總體狀況:

“ในประเทศสยามบริโภคเป็ดไก่กันมาก เนื้อกวาง นกน้ำ เนื้อควายหรือเนื้อวัวตากแห้ง เต่าแล้วก็ปลาทะเล เขากินกบ ตัวด้วงไหม ค้างคาว หนูพุก จระเข้ งูเหลือม แม้กระทั่งจนไข่มดบางชนิด พวกบ้านนอก ไม่สู้สุรุ่ยสุร่ายเรื่องอาหาร การกิน เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยข้าว ปลาแห้ง กล้วย หน่อไม้ แพงพวย กับผักน้ำอย่าง อื่นๆ ใช้จิ้มกินกับน้ำพริก”
“暹羅主要食用的是鴨肉和雞肉,還有鹿肉、水鳥和牛肉或牛肉乾,龜也是海龜,他們吃青蛙、蠶、蝙蝠、板齒鼠、鱷魚、蛇,還包括很多螞蟻卵,鄉下人對吃的很 不講究,只以米飯、乾魚、香蕉、竹筍、長春花爲生,還包括各種蔬菜蘸辣椒醬。”

เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล [ชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2383-84] บันทึกถึงอาหารที่เขาเคยกินเมืองไทยว่า [3]
Frederick Arthur Neil(1815-1816年在泰國遊歷的英國人)記錄了他曾經吃過的泰國美食:

“เรื่องอาหารเย็น เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาในตอนกลางวันทําให้เรารู้สึกหิวกันแล้ว มีคนหาปลาคนหนึ่งเป็นคนจีน ก็ถูกเรียกตัวมาให้เป็นผู้ทําอาหารให้กับเรา โดยมอบเงินให้เขาไป 5 บาท เป็นเหรียญเงิน เราจ้องดูเขาทําอาหารรู้สึกว่าเขาเป็นผู้ชํานาญมากจริงๆ ในการปรุงอาหาร เพียงไม่ถึงครึ่งชั่วโมงอาหารก็เสร็จหมด
“涼菜,因爲白天發生了很多事情,導致我們非常飢餓,有一個在找魚的中國人,就被叫過來爲我們提供食物,我們給了他5泰銖,是一枚銀質的錢幣,我們看着他制 作食物,感覺他做飯非常的熟練,不到半個小時就做完了全部的飯菜。”

จานแรกก็เป็นแกงจืด ชาวบ้านเรียกว่า ชูชู (Chou Chou) ก็มีหมู ไก่ เผือก มันเทศ เป็ด ปลา หอม กระเทียม สะระแหน่ พริกไทย เกลือ และกานพลู เอาทุกอย่างนี้มาต้มจนเละใส่น้ำและใส่รังนกลง ไปด้วยจนสีเหมือนกับซุปเต่า
“第一種菜是清湯 ,當地人叫做Chou Chou,有豬肉、雞肉、芋頭、番薯、鴨肉、魚肉、洋蔥、大蒜、蜜蜂花、胡椒、鹽和丁香,將所有食材放在一起煮,放入燕窩,將食材熬製成龜湯的顏色。”

แกงนี้ถ้าเป็นเวลาอื่นข้าพเจ้าคงจะไม่ลองแน่ๆ แต่เมื่อลองรับประทานดูแล้วก็รู้สึกว่าพอใจ เพราะอร่อยดีเหมือนกัน ทุกๆ คน ก็พอใจ ถ้าจะให้รับประทานอีกสักครั้งในอาทิตย์นั้นก็เห็นจะยอม ต่อจากซุป ก็มีข้าวสวย และมะม่วงดอง และบาลชุง (balichung) อย่างสุดท้ายนี้อร่อยรสชาดดีมาก ในตอนนั้นก็ลองคิดดูเหมือนกันว่ามันทําด้วยอะไร
“這個咖喱如 果是別的時候我肯定不會嘗試,但是試過之後覺得很滿意,因爲非常好吃,每個人都覺得不過,如果要在下週再吃一次的話肯定也願意。喝過湯之後就是米飯和醃製的芒果、balichung,最後一種非常好吃,我們當時也在想這是什麼做的。”

ท่านผู้อ่านคง ไม่ทราบว่าข้าพเจ้าตกใจแค่ไหนเมื่อรู้ว่าอาหารอันนี้คืออะไร กับข้าวนี้ก็คือกุ้งที่อบและตากแห้ง แล้วเอามาตําผสมด้วยหัวหอมกระเทียมและเครื่องเทศต่างๆ จากนั้นก็เอาน้ำส้มมาใส่และบรรจุไหทิ้งเอาไว้ราวๆ 2 เดือนหรือนานกว่านั้น จานสุดท้ายเป็นเป็ดย่างเขาทําได้ดีทีเดียว หลังจากกินอาหารกันเสร็จแล้วก็พา กันกลับไปนอนที่เรือของตน”
“讀者可能想象不到當我知道這個食物是什麼的時候有多震驚,這種食物是蒸熟的幹下,然後和大蒜及各種調料一起搗碎,然後填入醋,之後放置兩個月的時間。最後一 種食物的烤鴨,他做的非常好,之後吃完飯就一起回去了自己的住處。”

สรุปว่า แม้ในอดีตบ้านเมืองจะอุดสมบูรณ์ แต่อาหารการกินของคนไทยไม่ฟุ่มเฟื่อย มีข้าว ปลา และน้ำพริกเป็นหลัก และแม้จะมีหน้าตาแปลกไปบ้าง แต่หลายจานก็เป็นที่ชื่อชอบของคนต่างบ้านต่างเมือง
總的來說,儘管泰國是非常富饒的,但是泰國人的食物並無複雜奢侈,主要是米飯、魚肉和辣椒醬,儘管有一些的樣子很奇怪,但是很多美食都被外國人喜愛。

 

評論區裏告訴我們你對泰國菜的第一印象吧!

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。